หากคุณกำลังมองหาเครื่องโปรเจคเตอร์ เราได้รวบรวมคำศัพท์เฉพาะทางด้านล่างเพื่อให้คุณได้คุ้นเคยกับคำที่ถูกใช้บ่อยๆในแวดวงนี้และเข้าใจเกี่ยวกับคอนเซ็ปต์รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ คุณจะสามารถเลือกซื้อเครื่องโปรเจคเตอร์ได้อย่างมั่นใจและได้เลือกตามความต้องการในการใช้งานที่แท้จริง
อัตราส่วนของความกว้างและความสูงของภาพ ปกติแล้วคอนเทนต์ HD/UHD จะมีอัตราส่วน 16:9 wide screen ในโรงภาพยนตร์จะใช้ 2.35:1 และ ในทีวีสมัยก่อนใช้ 4:3
การปรับภาพอย่างมืออาชีพของโปรเจคเตอร์หรือเครื่องฉายเพื่อให้ได้มาตราฐานตาม Adobe RGB, DCI-P3, Rec. 709, และ Rec. 2020 หากโปรเจคเตอร์มีการปรับเทียบสีภาพที่ดี ภาพจะถูกฉายออกมาใกล้เคียงกับรูปต้นแบบหรือตามที่ผู้กำกับต้องการสื่ออย่างมาก สีที่แม่นยำนั่นแปลว่ามีการฉายภาพตรงความความเป็นจริง แต่ในโปรเจคเตอร์ที่มีการปรับเทียบสีภาพไม่ดีจะทำให้สีเพี้ยน เช่นรถสีแดงกลายเป็นส้ม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ
เนื่องจากสีคือคลื่นพลังงานความร้อนชนิดหนึ่ง สีจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิที่ได้รับ หน่วยการวัดค่าอุณหภูมิสีของแสงนั้นคือ Kelvins(เคลวิน) ที่มีค่าสีอยู่ในช่วง 4000-7000K คุณอาจจะพบกับศัพท์ “D65” ที่หมายถึงอุณหภูมิสีของแสงในตอนกลางวันที่ถูกอ้างถึงในช่วงความกว้างของสีที่แตกต่างกันไป เช่น Rec. 709 โดย D65 มีช่วงอุณหภูมิประมาณ 6500 องศาเคลวิน
ขอบเขตของช่วงสีหรือการแสดงผลสีที่จอแสดง ซึ่งแต่ละเครื่องจะมีการแสดงได้แตกต่างกันไป โดยเฉพาะกับเครื่องทีสามารถแสดงผลค่าสีได้กว้างมาก (ขนาดที่ตาและสมองมนุษย์ยังไม่สามารถประมวลได้) เช่น DCI-P3 Rec. 709 และ Rec 2020
ส่วนประกอบที่มีหน้าที่สร้างสีบนโปรเจคเตอร์ วงล้อสีทั่วไปจะใช้สามแม่สีหลักคือ แดง เขียว น้ำเงิน แต่เมื่อมีแม่สีมากขึ้นจะช่วยให้สีที่แสดงออกมาสดใสมากขึ้น เพราะขอบเขตสีนั้นกว้างขึ้น ฉนั้นโปรเจคเตอร์ที่ดีควรมีวงล้อสี 6 สีแบบ RGBRGB ทั้งนี้อาจจะมีวงล้อสีแบบ RGBW (เพิ่มสีขาว) และ RGBCWY (แดง เขียว น้ำเงิน ฟ้าอมเขียว ขาว เหลือง) วงล้อสีจะมีผลต่อประสิทธิภาพการแสดงสีอย่างมาก
ความแตกต่างระหว่างสีขาวที่ขาวที่สุดและสีดำที่ดำที่สุด จะขึ้นอยู่กับความคมชัดของภาพที่สามารถแสดงภาพได้ดูลึกมีมิติสมจริง ค่า Contrast Ratio จะบอกจำนวนของสีขาวต่อดำ เช่น 30000:1
DCI-P3 คือขอบเขตสีที่ถูกสร้างมาเพื่อการฉายหนังดิจิทัลคุณภาพระดับมืออาชีพ และความกว้างจะมากกว่า Rec. 709 โดยเฉพาะในพื้นที่สีเขียวและแดง กล่าวคือ DCI-P3 จะแสดงสีเขียวและแดงได้อย่างสดใส ในขณะที่สีฟ้าจะแสดงได้เท่ากันกับ Rec. 709
เทคโนโลยีที่ใช้กระจกขนาดเล็กมากมายมหาศาลเพื่อฉายภาพจากแหล่งกำเนิดแสง เมื่อเทียบกับการฉายแบบ LCD เทคโนโลยี DLP นั้นมีระบบกันฝุ่นเกาะที่ไม่ต้องใช้ฟิลเตอร์ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะลดคุณภาพของภาพที่ฉาย นอกจากนี้กระจกที่ใช้ในการสร้าง DLP มีความทนทานมากกว่าอุปกรณ์ LCD panels มาก หากแหล่งกำเนิดแสง (lamp) ต้องมีการเปลี่ยน คุณภาพของภาพยังคงสูงอยู่ในเทคโนโลยี DLP แต่ LCD จะมีประสิทธิภาพลดลงและต้องมีการเปลี่ยนหลอดอยู่เรื่อยๆ
Learn more: What’s BenQ DLP Technology?
การใช้ส่วนประกอบชิพขนาดเล็กที่ภายในประกอบด้วยกระจกขนาดเล็กมากจำนวนมากมายมหาศาลที่จะทำให้ภาพที่ฉายออกมาคมชัดระดับ 4K
อีกหนึ่งวิธีที่เป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อโปรเจคเตอร์คือการรวมตัวของหลอดไฟในตัวและเลนส์ที่เปิดและปิดตามความสว่างของภาพที่ฉายเพื่อปรับความสว่างของแสงที่ใช้ในการฉาย วิธีนี้จะช่วยปรับความคมชัดของภาพที่ถูกฉายโดยอัตโนมัติ ทำให้สามารถเกิดภาพที่ชัดแม้ในมุมมืดและช่วยปรับความสว่างที่เหมาะสมในรูปที่สว่าง ทำให้แสดงรายละเอียดภาพอย่างครบถ้วน
Learn more: How does a dynamic iris works?
การแสดงผลจำนวนภาพต่อ 1 วินาที ยิ่งมีจำนวนเฟรมต่อวินาทีมาก ก็จะทำให้การแสดงผลภาพมีความต่อเนื่องลื่นไหล ทีวีและหนังมักใช้จำนวนเฟรมประมาณ 24 ในขณะที่เกมใช้ประมาณ 30-60 แต่อาจจะมากถึง 144 หน่วยวัดของอัตราภาพมักใช้เป็น Hertz (Hz)
ค่าโวลต์ที่มีผลต่อความสว่างของภาพ ค่าโวลต์ที่สูงจะทำให้แสงมากขึ้น ดังนั้นภาพจะสว่างขึ้น
เมื่อหน้าจอกับรูปภาพต้นแบบไม่ถูกซิงค์กันจะเกิดภาพซ้อนเนื่องจากภาพต้นแบบได้มีการอัพเดทเร็วกว่าที่หน้าจอจะแสดงผลได้
HDMI ย่อมาจาก High Definition Multimedia Interface ระบบการเชื่อมต่อสัญญาภาพและเสียงระบบดิจิตอลไว้ในสัญญาณเพียงเส้นเดียว ที่มีมาตั้งแต่ค.ศ. 2000 แต่สำหรับ 4K UHD ที่อัตรา 60fps ต้องใช้ HDMI 2.0 หรือมากกว่า
HDR หรือ High dynamic range ช่วยสร้างภาพที่มีช่วงการรับแสงสูงกว่าปกติ จึงให้ภาพมีความสมจริงมากขึ้นและดูมีมิติ
Learn more: High resolution is not HDR. Contrast is the key!
Learn more: What's BenQ HDR-PRO technology?
Hybrid Log-Gamma (HLG) เป็นอีกเวอร์ชั่นของ HDR ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของ NHK และ BBC สิ่งที่ทำให้แตกต่างจาก HDR เวอร์ชั่นอื่นๆ คือ HLG จะไม่ใช้ metadata นั่นทำให้ม้นสามารถใช้ร่วมกับการแสดงผล SDR และ HDR
Input lag คือความล่าช้าของการส่งภาพผ่านโปรเจคเตอร์ที่จะฉายบนหน้าจอ ในความหมายของเกมคือความล่าช้าระหว่างหน้าจอและตัวควบคุม เนื่องจากหน่วยวัดมีค่าเป็นมิลลิวินาที ทำให้การเล่นเกมที่มี Input lag มากกว่า 40ms เกิดการล่าช้าจนไม่สามารถเล่นได้ และ อาจจะเป็นเช่นเดียวกันกับโหมดภาพยนตร์และทีวี
เมื่อโปรเจคเตอร์ไม่ได้ถูกติดตั้งให้ตรงกับหน้าจอที่จะถูกฉาย ภาพที่แสดงออกมาจะไม่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปทรงจะผิดเพื้ยนไป Keystone จะช่วยแก้ไขปัญหานี้หากมีหารติดตั้งมาในตัวโปรเจคเตอร์
Liquid crystal display (LCD) เป็นอีกเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อจอทีวีและโปรเจคเตอร์ สิ่งที่ทำให้แตกต่างจาก DLP หรือ digital light processing คือ LCD มักมีความเปลี่ยนแปลงและอาจจะเฟดตามกาลเวลา ในขณะที่ DLP นั้นยังคงสภาพเดิม และยังทนต่อปัญหาภาพที่มักพบใน LCD
เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการเคลื่อนย้ายหรือติดตั้งโปรเจคเตอร์ Lens shift ช่วยให้สามารถปรับภาพ ขึ้น ลง ขวา หรือ ซ้าย ในระยะที่กำหนดได้โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายเครื่อง
อีกปัจจัยสำคัญสำหรับการฉายภาพบนโปรเจคเตอร์คือแสงสะท้อน ยิ่งรังสีของแสงที่พุ่งออกจากพื้นผิวของวัตถุมากเท่าไหร่ โปรเจคเตอร์ยิ่งทำงานได้ดีมากเท่านั้น เทคโนโลยีนี้เพิ่มแสงที่จะผู้ชมจะสามารถมองเห็นได้
หน่วยวัดความสว่างของหลอดไฟ ความสว่างในการฉายภาพของโปรเจคเตอร์จะเป็นไปตามแสงล้อมรอบ เช่น ห้องที่สว่างมากหรือมืดมาก
ความละเอียดที่ "แท้จริง" ที่รู้จักกันในชื่อ full HD (1920 x 1080) หรือ 1080p และ ultra HD (3840 x 2160) หรือ 2160p ซึ่ง “p” ในที่นี้ย่อมาจาก Progressive Scan มีหน่วยเป็น pixels หรือ megapixels ต่อเฟรม
การแสดงผลบนหน้าจอ ที่จะปรากฎเมื่อเรียนรู้วิธีการใช้เมนู OSD เพื่อปรับลักษณะ ของอิมเมจที่กำลังแสดงอยู่ โดยการใช้ปุ่มควบคุมหรือรีโมต
การแสดงค่าสีที่ครอบคลุมตามมาตราฐานทำให้ภาพมีความสมจริงเพื่อสื่อความรู้สึกไปให้ถึงผู้ชม มักใช้ในคอนเทนต์ full HD หรือที่มีความละเอียดสูง
RGB ย่อมาจาก red, green และ blue คือ กระบวนการผสมสีจากแม่สี 3 สี คือสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ที่จะช่วยแสดงภาพจอสี
Learn more: What is an RGBRGB color wheel?
เอฟเฟกต์ที่เกิดจากปัญหาในการฉายภาพหรือปิดช่องว่างระหว่างพิกเซลไม่เร็วเท่าที่ึควร ทำให้ภาพถูกแสดงออกมาเป็นสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก นั่นคือ Screendoor door effect
ดีไซน์ที่ออกแบบให้หน้าจอเรียบและตึงตลอดเวลาเพื่อให้ภาพที่ฉาย มีคุณภาพดีและชัดเจน
ระยะในการแสดงผลของเครื่องโปรเจคเตอร์ไปยังจอภาพ ตามรุ่นและขนาดที่กำหนด ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามภาพนิ่งหรือภาพที่ขยายได้
การปรับภาพเพื่อเพิ่มความชัดเจนของภาพนั้นๆ เช่น จอ 4K สามารถฉายความละเอียดของคอนเทนต์ได้ตั้งแต่ 1080p ถึง 2160p ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับไฟล์ต้นแบบด้วย
อีกฟีเจอร์หนึ่งที่มีประโยชน์เพราะสามารถช่วยรักษาขนาดของภาพได้จะระยะที่แตกต่างกัน เลนส์ฟิกที่ขยายไม่ได้ก็ต้องมีการย้ายเครื่องโปรเจคเตอร์ เมื่อมีการปรับขนาดหน้าจอซึ่งเป็นเรื่องที่ลำบากในการใช้งาน