ราคา จำนวน

BenQ เปิดตัวโคมไฟแขวนจอคอม ScreenBar Halo สุดยอดนวัตกรรมแห่งแสงสว่าง เพิ่มประสิทธิภาพให้คนยุคใหม่บนโต๊ะทำงาน

ดูทั้งหมด

BenQ เปิดตัวโคมไฟแขวนจอคอม ScreenBar Halo สุดยอดนวัตกรรมแห่งแสงสว่าง เพิ่มประสิทธิภาพให้คนยุคใหม่บนโต๊ะทำงาน

กระบวนการจัดการสีสำหรับผลิตภาพ

ในบทความที่ผ่านมา เราได้อธิบายถึงรายละเอียดวิธีการจัดการสีของภาพจากแหล่งอื่นๆ ทั้งจากการวาดและการบันทึกภาพด้วยกล้อง ในบทความนี้เราจะมาดูวิธีรักษาคุณภาพการแสดงค่าสี ให้สอดคล้องกับแหล่งที่มาตลอดกระบวนการทำงานที่เหลือ

หลังจากที่บันทึกภาพต้นฉบับเสร็จแล้ว ภาพส่วนใหญ่แล้วจะถูกนำไปตกแต่งโดยโปรแกรมตกแต่งภาพ ยกตัวอย่างเช่น ปรับความสว่าง เพิ่มความอิ่มตัว ปรับผิวให้เนียน ฯลฯ ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานเหล่านี้จำเป็นต้องใช้จอแสดงผลที่ได้รับการปรับเทียบสีอย่างถูกต้องตลอดกระบวนการทำงาน เพื่อให้ปรับค่าต่างๆอย่างเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป

รูปที่ 1: กระบวนการทำงานการจัดการสีทั่วไปสำหรับการปรับแต่งภาพ

ตามภาพในกระบวนการทำงานจะมีบล็อกที่เรียกว่า "Soft-Proofing (พิสูจน์การใช้สี)" นี่คือฟังก์ชันที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวสำหรับการจัดการสี และถือได้ว่าเป็นฟังก์ชันที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนการทำงาน Soft-proofing ช่วยให้เจ้าของผลงาน หรือผู้ที่ตรวจงานก่อนการพิมพ์สามารถที่จะตรวจสอบภาพจากหน้าจอแสดงผลและดูว่าจะเป็นอย่างไรเมื่อพิมพ์ลงบนกระดาษ จอแสดงผลทำหน้าที่เป็นตัวจำลองระบบ ผ่านโปรไฟล์ ICC เมื่อใช้จอแสดงผลที่ได้รับการปรับเทียบอย่างถูกต้อง ผู้รีทัชสามารถเปรียบเทียบได้อย่างแม่นยำว่าภาพที่พิมพ์ออกมาในกระดาษมัน หรือกระดาษด้านจะเป็นอย่างไร ช่วยให้สามารถปรับแต่งภาพได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดบนพื้นผิวที่พิมพ์ ช่วยประหยัดเวลาและวัสดุสิ้นเปลือง (กระดาษและหมึก)

นอกเหนือจากการปรับเทียบจอแสดงผลแล้ว ความถูกต้องของสียังก็เป็นอีกสิ่งที่จำเป็นสำหรับจอแสดงผลทั่วไป เราจะเห็นสีเดียวกันทุกครั้งแต่สีอาจไม่ตรงกับสีต้นฉบับ เช่นเดียวกับสถานการณ์ที่แสดงในมุมล่างซ้ายในรูปที่ 2 อย่างไรก็ตาม การจัดการสีจะช่วยให้แสดงสีที่ถูกต้องได้ทุกครั้ง ตามที่ต้องการให้แสดงดังเช่นในมุมล่างขวาของรูปที่ 2 เพื่อให้มั่นใจว่าจะรับรู้สีเหมือนกันทุกครั้งที่ใช้งาน

รูปที่ 2: ความถูกต้องของสีในการจำลองภาพโดยทั่วไปและด้วยการจำลองการจัดการสี

อีกตำแหน่งหนึ่งที่สำคัญในการกำหนดค่าสีให้กับภาพวิดีโอก็คือผู้เชี่ยวชาญด้านสี (Colorist) เวิร์กสเตชันทั่วไปสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสีจะเป็นดังที่แสดงในรูปที่ 3 โดยจะมีจอแสดงผลจำนวนมาก เช่น จอแสดงผลสำหรับวางกล่องเครื่องมือ UI จอแสดงผลอ้างอิงเพื่อปรับสี (หรือการจัดระดับสี) และทีวีหรือโปรเจคเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อรับชมภาพขนาดใหญ่ จอแสดงผลอ้างอิงเป็นจอที่จำเป็นต้องมีการจัดการ เพราะต้องการการแสดงผลที่ถูกต้องแม่นยำ

รูปที่ 3: การตั้งค่าเวิร์กสเตชันทั่วไปสำหรับศิลปินแก้สี

ต่อไปจะเป็นขั้นตอนกระบวนการจัดการสีสำหรับผลิตภาพ หรือจำลองภาพลงในสื่อต่าง ๆ เช่นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร แกลลอรี่ออนไลน์ เว็บไซต์ เป็นต้น ดูกระบวนการทำงานทั่วไปของกระบวนการพิมพ์ในรูปที่ 4

รูปที่ 4: ขั้นตอนการทำงานของกระบวนการพิมพ์ทั่วไป

เมื่อโรงพิมพ์ได้รับภาพที่ปรับแต่งเสร็จแล้ว ผู้จัดเตรียมขั้นตอนการพิมพ์จะดูภาพบนจอแสดงผลที่ถูกปรับเทียบอย่างถูกต้องเพื่อตรวจสอบไฟล์ หลังจากตรวจสอบทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ภาพจะถูกส่งไปยังซอฟต์แวร์ RIP (Raster Image Processing) เพื่อสร้างการพิสูจน์การพิมพ์อิงค์เจ็ทและข้อมูลสำหรับการแยกสี ซอฟต์แวร์ RIP มีหน้าที่รับผิดชอบในการจับคู่การพิสูจน์อิงค์เจ็ทและการผลิตสิ่งพิมพ์ และสามารถทำได้ในรูปแบบ Open Loop (เช่น ขั้นตอนการทำงาน ICC) หรือ Close Loop (ผ่านทางเทคโนโลยีที่เป็นกรรมสิทธิ์)

ปัจจุบันภาพจำนวนมากไม่ได้รับการพิมพ์ แต่จะโพสต์โดยตรงในเว็บไซต์หรือแกลลอรี่ออนไลน์แทน การกระจายภาพผ่านเว็บไซต์หรือแกลลอรี่ออนไลน์ไม่ซับซ้อนเท่าขั้นตอนการพิมพ์ที่แสดงข้างต้น แต่ก็ยังคงมีประเด็นที่ต้องพิจารณา ประการแรก ผู้ผลิตซ้ำไม่ทราบว่าอุปกรณ์แสดงผลแบบใดที่ผู้ชมจะใช้ ภาพอาจดูได้ในจอแสดงผลหลายระดับ เช่น จอมอนิเตอร์ทั่วไป จอแสดงผลการจัดการสี หรือจอแสดงผลอ้างอิง ในบางกรณีอาจใช้โปรเจคเตอร์แทน ช่วงสีและความถูกต้องอาจแตกต่างกันไป ดังนั้นผู้ผลิตซ้ำหรือผู้จัดจำหน่ายจะสามารถทำอย่างไรเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ชมกำลังมองสีที่เหมาะสมอยู่ ในความเป็นจริง พวกเขาไม่สามารถทำได้ จริงแล้ว ๆ ขึ้นอยู่กับผู้ชมในการปรับเทียบจอแสดงผลหรือโปรเจคเตอร์ของตนก่อนที่จะดูภาพ นอกจากนี้ วิธีที่ดีก็คือการแปลงภาพเป็นพื้นที่สี sRGB เนื่องจาก sRGB เป็นมาตรฐานหลักสำหรับทุกอุปกรณ์

นอกเหนือจากการปรับเทียบอุปกรณ์แสดงภาพและการแปลงภาพเป็นพื้นที่สี sRGB แล้ว ผู้ใช้ยังควรให้ความสนใจกับเบราว์เซอร์อินเทอร์เน็ตที่จะดูภาพอีกด้วย ในรูปที่ 5 แสดง 4 เบราว์เซอร์ที่แตกต่างกันก็อาจแสดงภาพที่ต่างกันออกไปแม้จะกำลังดูเว็บเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากเบราว์เซอร์ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ ICC แต่จะขึ้นกับการออกแบบบการแสดงผลของแต่ละเบราว์เซอร์ ดังนั้น นักออกแบบเว็บหรือผู้ที่ต้องการเผยแพร่ภาพออนไลน์จึงต้องตรวจสอบภาพกับเบราว์เซอร์ต่าง ๆ จากรูปที่ 5 เราจะเห็นได้ว่า IE และ FireFox สามารถแปลภาพที่มีโปรไฟล์ v4 ICC ได้อย่างถูกต้องในขณะที่ Chrome และ Opera จะแสดงภาพที่แตกต่างออกไป

ในบทความนี้ เราได้อธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดการสี และประโยชน์ของการตรวจสอบการใช้สีด้วยซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน

รูปที่ 5: การทดสอบการจัดการโปรไฟล์ ICC ด้วยเบราว์เซอร์อินเทอร์เน็ตที่แตกต่างกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับท่านหรือไม่?

ใช่ ไม่

ติดตามบทความของเรา

คอยติดตามการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของเรา ข่าวที่จะเกิดขึ้น และสิทธิประโยชน์พิเศษอีกมากมาย

ติดตาม
TOP