ราคา จำนวน

BenQ เปิดตัวโคมไฟแขวนจอคอม ScreenBar Halo สุดยอดนวัตกรรมแห่งแสงสว่าง เพิ่มประสิทธิภาพให้คนยุคใหม่บนโต๊ะทำงาน

ดูทั้งหมด

BenQ เปิดตัวโคมไฟแขวนจอคอม ScreenBar Halo สุดยอดนวัตกรรมแห่งแสงสว่าง เพิ่มประสิทธิภาพให้คนยุคใหม่บนโต๊ะทำงาน

ทำไมสีเดียวกันจึงดูไม่เหมือนกันบนอุปกรณ์ที่แตกต่าง ?

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดควรแสดงสีเดียวกัน ?

หลายคนมักเข้าใจผิดว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดควรแสดงสีเดียวกัน โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มียี่ห้อและรุ่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามสำหรับเรื่องการแสดงค่าสีแล้วมันมักไม่เป็นเช่นนั้นในบทความนี้เราจะแสดงให้เห็นด้วยการทดลองอย่างง่าย ๆ เมื่อคุณแสดงภาพเดียวกันและเทียบกันบนจอแสดงผลสองจอ มีโอกาสอย่างน้อย 95% ที่ภาพจะดูไม่เหมือนกัน และคุณอาจพบว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์เช่นเดียวกับที่แสดงในรูปที่ 1 จอแสดงผลไม่จำเป็นต้องเป็นยี่ห้อเดียวกันและรุ่นเดียวกัน แต่เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงตัวอย่าง เราจะใช้ภาพเดียวกันบนสี่จอ

สีที่ต่างกันบนอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน

รูปที่ 1: สีที่ต่างกันบนอุปกรณ์ประเภทเดียวกัน

อีกสถานการณ์หนึ่งในการเห็นปรากฏการณ์นี้ก็คือเมื่อคุณกำลังเลือกซื้อทีวีใหม่ คนส่วนใหญ่ไปที่ร้านอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่และตัดสินใจเลือกจากทีวีที่เปิดให้ชมภาพ จากนั้นก็เลือกที่คุณภาพของสีหรือภาพ (หรือราคา) ที่คุณคิดว่าน่าสนใจที่สุด การชี้ให้เห็นว่าจอแสดงผลใดที่ได้รับการปรับแต่งโดยผู้ผลิตแต่ละรายเพื่อให้ได้ภาพที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นภาพที่มีคุณภาพดีที่สุดนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมาก หลักการเดียวกันนี้สามารถนำมาใช้กับจอแสดงผล โปรเจคเตอร์ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ อีกมากมาย แต่ถึงแม้จะเป็นภาพที่มาจากแหล่งเดียวกัน (การแพร่ภาพภายในร้านหรือทีวีที่มีการแสดงวิดีโอในตัว) คุณเคยคิดหรือไม่ว่าอะไรที่ทำให้ภาพดูแตกต่างกัน

นอกจากการปรับแต่งการตั้งค่าสีของผู้ผลิตหรือร้านค้าแล้ว มีเหตุผลหลักอีกสองข้อที่ทำให้การผลิตสีซ้ำบนอุปกรณ์ต่าง ๆ ดูแตกต่างกันมาก: เหตุผลแรกคือ ทฤษฎีการผสมสีเบื้องหลังของอุปกรณ์แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน และส่วนที่สองเป็นผลมาจากความแตกต่างกันของรูปแบบการผลิตโดยทั่วไป

ภาพที่ 2: (a) การใช้แสงสี RGB เพื่อผสมสี / (b) การใช้สารแต่งสี CMY เพื่อผสมสี

ก่อนอื่นเราจะพูดถึงทฤษฎีการผสมสี การผสมสีมีด้วยกันสองวิธี วิธีแรกคือใช้แสงสีและอีกวิธีคือใช้สารแต่งสี รูปที่ 2a แสดงให้เห็นถึงการใช้สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงินเพื่อผสมสี และรูปที่ 2b แสดงการใช้สีฟ้า สีม่วงแดง และสีเหลือง ในรูปที่ 2a เมื่อรวมแสงสีแดง เขียว และน้ำเงิน เข้าด้วยกันคุณจะเห็นแสงสีขาว เมื่อรวมแสงสีแดงและเขียวคุณจะเห็นแสงสีเหลือง ในขณะที่การรวมแสงสีแดงและสีฟ้าคุณจะเห็นแสงสีแดงม่วง

เมื่อพูดถึงการผสมสีเหล่านี้เรามักพูดถึงสีฟ้า สีม่วงแดง และสีเหลือง (รูปที่ 2b) ในฐานะ "สีปฐมภูมิ" และสีแดง สีเขียว และสีฟ้า (รูปที่ 2a) เป็น "สีทุติยภูมิ" เนื่องจากสีจะถูกสร้างขึ้นโดยการลดการสะท้อนของสารสีขาวโดยใช้สื่อแสงที่ผ่านการกรองแล้ว วิธีการผสมสีนี้จึงถูกเรียกว่า “การผสมแม่สีลบ” ในทางตรงกันข้าม เนื่องจากสีขาวสามารถสร้างขึ้นได้โดยการเพิ่มแสงสีแดง เขียว และน้ำเงิน เราจึงเรียกวิธีนี้ว่า "การผสมแม่สีบวก"

ความแตกต่างก็คือ ถ้าเราต้องการใช้สารแต่งสีหรือผงหมึกในการสร้างสีด้วย "การผสมแม่สีบวก" เราต้องใช้สารแต่งสีหรือผงหมึกกับพื้นผิว เช่น กระดาษหรือผ้าใบ ลองพิจารณาสีขาวในรูปที่ 2b ว่าเป็นสีขาวจากกระดาษหรือผ้าใบ บนพื้นผิวเหล่านี้ เมื่อผสมสีฟ้าและสีม่วงแดงคุณจะเห็นสีน้ำเงิน ในขณะที่การผสมสีม่วงแดงและสีเหลืองคุณจะเห็นสีแดง เมื่อคุณผสมทั้งสาม: สีฟ้า สีม่วงแดง และสีเหลือง ในทฤษฎีคุณจะเห็นเป็นสีดำ

รูปที่ 3: ระบบแม่สีบวก

รูปที่ 4: ระบบแม่สีลบ

เมื่อเราผลิตภาพซ้ำในรูปแบบดิจิทัล เช่น การแสดงภาพบนจอแสดงผลหรือโปรเจคเตอร์มักจะใช้วิธี "การผสมแม่สีบวก" ดังแสดงในรูปที่ 3 เมื่อผลิตภาพซ้ำในรูปแบบเอกสาร เช่น ใช้เครื่องพิมพ์เพื่อพิมพ์ภาพจะใช้วิธี "การผสมแม่สีลบ" ดังแสดงในรูปที่ 4 จะเห็นได้ง่ายว่า สีทุติยภูมิของระบบแม่สีบวกและแม่สีลบจะตรงกันข้าม แนวคิดเดียวกันนี้ยังนำไปใช้กับการสร้างสีขาวและดำในทั้งสองระบบ ดังนั้นเราจึงคาดว่าสีที่สร้างขึ้นจากจอภาพหรือโปรเจคเตอร์จะแตกต่างจากสีบนสื่อสิ่งพิมพ์เนื่องจากมีความแตกต่างในวิธีการผสมสี

สาเหตุที่สองที่เราเห็นการเปลี่ยนแปลงในสีที่เกิดขึ้นในอุปกรณ์ต่าง ๆ เกิดจากความแตกต่างของรูปแบบการผลิตโดยรวม การผลิตสีเหล่านี้มีด้วยกันหลายวิธี ในรูปที่ 5 เราจะอธิบายโดยใช้จอภาพที่ผลิตโดยวิธีทั่วไปเป็นตัวอย่าง

รูปที่ 5: องค์ประกอบหลักของแผง LCD

รูปที่ 5 แสดงส่วนประกอบหลักภายในแผงจอแสดงผล การผลิตแผงหนึ่งชิ้นจะมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างน้อย 10 เลเยอร์ ส่วนประกอบหลักที่ส่วนใหญ่มีผลต่อสีมีดังนี้:

1. Backlight

2. Polarizer

3. TFT Substrate

4. Liquid Crystal (LC)

5. Color Filter Array

6. Color Filter Substrate

เนื่องจากกระบวนการทางวัสดุและการผลิต วิธีในการผลิตแต่ละส่วนประกอบเป็นจำนวนมาก ๆ จึงมีความแปรผัน ความแปรผันนี้โดยปกติจะอยู่ที่ประมาณ 5% ต่อชิ้นส่วนเพื่อให้สามารถผลิตได้อย่างรวดเร็วและมีราคาเหมาะสม สมมติว่าเรามีการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวดให้มีความแตกต่างเพียง 2% สำหรับแต่ละองค์ประกอบที่ใช้ เนื่องจากส่วนประกอบมี 10 เลเยอร์ ความแตกต่างของแผงจึงสามารถมีค่าถึง 15% ~ 20% ได้โดยง่าย ดังนั้นเมื่อโรงงานใช้แผงโดยทันทีโดยที่ไม่มีการปรับแก้หรือปรับเทียบ สีของแต่ละหน่วยจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก นี่เป็นกรณีทั่วไปสำหรับภาพ โปรเจคเตอร์ ทีวี และแม้แต่เครื่องพิมพ์

จากบทความนี้เราได้เรียนรู้ว่า มีสาเหตุสามประการที่ทำให้สีของภาพดูแตกต่างกันบนอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน ข้อแรก เนื่องจากผู้ผลิตแต่ละรายมีการกำหนดค่าสมดุลสีของตนเอง เหตุผลที่สองก็คือทฤษฎีการผสมสีพื้นฐานมีความแตกต่างกันในสื่อต่าง ๆ เหตุผลสุดท้ายคือความแตกต่างกันในการผลิตจำนวนมาก ในตอนนี้เราสามารถระบุเหตุผลที่เป็นรูปธรรมสำหรับปรากฏการณ์นี้ได้แล้ว ในบทความต่อไปเราจะอธิบายว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อทำให้สีมีลักษณะเดียวกันบนอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน

บทความนี้เป็นประโยชน์กับท่านหรือไม่?

ใช่ ไม่

ติดตามบทความของเรา

คอยติดตามการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของเรา ข่าวที่จะเกิดขึ้น และสิทธิประโยชน์พิเศษอีกมากมาย

ติดตาม
TOP