ราคา จำนวน

BenQ ScreenBar Halo สุดยอดนวัตกรรมแห่งแสงสว่าง เพิ่มประสิทธิภาพให้คนยุคใหม่บนโต๊ะทำงาน

ดูทั้งหมด

BenQ ScreenBar Halo สุดยอดนวัตกรรมแห่งแสงสว่าง เพิ่มประสิทธิภาพให้คนยุคใหม่บนโต๊ะทำงาน

10 ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกซื้อแขนจับจอ

อยากให้โต๊ะทำงานโล่งขึ้น หรืออยากปรับจอให้มันเข้ากับท่านั่งทำงานเราใช่ไหม? แขนจับจอภาพเป็นทางออกที่ดีเยี่ยม แต่ก่อนตัดสินใจซื้อ ต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น มันรับน้ำหนักจอเราได้ไหม? มีแขนจับแบบไหนบ้าง? แล้วจอเราใส่กับแขนจับได้หรือเปล่า? คู่มือนี้สรุป 10 เคล็ดลับสำคัญที่จะช่วยคุณเลือกแขนจับจอที่ใช่สำหรับคุณ

  1. การมีแขนจับจอดียังไง?
  2. แขนจับจอสี่ประเภทหลัก
  3. แขนจับจอภาพแบบกลไกกับแบบสปริงแก๊สแตกต่างกันอย่างไร?
  4. โต๊ะของคุณรองรับแขนจับจอภาพได้หรือไม่?
  5. ข้อควรระวังในการติดตั้งบนโต๊ะ
  6. ข้อควรระวังในการติดตั้ง VESA 
  7. น้ำหนักจอภาพที่เหมาะสม
  8. สิ่งที่ต้องพิจารณาในเรื่องของการปรับ
  9. การป้องกันแขนจับจอไม่แน่น
  10. วิธีจัดการสายไฟให้เป็นระเบียบ
1. การมีแขนจับจอดียังไง?

ด้วยการจัดโต๊ะทำงานแบบใหม่ๆ และการทำงานจากบ้านที่มากขึ้น แขนจับจอภาพแบบปรับได้จึงกลายเป็นของจำเป็นไปแล้ว การใช้หน้าจอเป็นเวลานานมักนำไปสู่อาการปวดคอและหลัง รวมถึงอาการเมื่อยล้าดวงตา ปัญหาเหล่านี้ทำให้ทำงานได้น้อยลงและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว นี่คือวิธีที่แขนจับจอภาพช่วยได้:

  1. ประหยัดพื้นที่บนโต๊ะ
  2. ทำงานด้วยท่าที่สบายที่สุด
  3. ลดอาการเมื่อยล้าดวงตา
  4. ลดอาการเมื่อยล้าดวงตา
  5. จัดระเบียบการใช้งานจอคู่ได้ลงตัว
  6. เพิ่มความสวยงาม
  7. จัดการสายเคเบิลง่ายขึ้น

ถ้าอยากรู้ว่าแขนจับจอมีดีอะไรอีกบ้าง? คลิกเลย: 7 เหตุผลทำไมทุกคนถึงเลือกใช้แขนจับจอ 

 

2. แขนจับจอภาพสี่ประเภทหลัก

แขนจับจอภาพมีสี่ประเภทหลัก ซึ่งจำแนกตามโครงสร้างและออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าคุณกำลังมองหาแขนจับจอภาพแบบพื้นฐานหรือแขนจับจอภาพแบบปรับได้เต็มรูปแบบ แต่ละประเภทก็ตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ทำงานที่แตกต่างกัน 

a. Pole-Type Stands

ขาตั้งจอแบบเสาเหมาะสำหรับคนที่ต้องการให้จออยู่กับที่ ไม่ค่อยขยับไปไหน เน้นแบบเรียบง่ายและมั่นคง แต่ถ้าจะปรับความสูง ต้องถอดชิ้นส่วนออก ซึ่งอาจจะยุ่งยากหน่อย ถ้าคุณต้องการความยืดหยุ่นในการปรับจอไปมา ขาตั้งแบบนี้อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด

b. Pole with Articulating Arm

ขาตั้งจอแบบนี้เหมาะสำหรับคนที่อยากให้จอสูงเท่าเดิม แต่ต้องการดึงจอภาพไปข้างหน้าหรือดันกลับไปข้างหลัง เหมาะอย่างยิ่งสำหรับโต๊ะที่พื้นที่จำกัด หรือคนที่อยากประหยัดพื้นที่ เช่น ดันจอชิดผนังเมื่อไม่ใช่ แต่ถ้าอยากให้จอขยับได้เยอะกว่านี้ แนะนำให้ใช้แขนจับจอแบบปรับได้ดีกว่า

c. Fully Articulated Arms for Flexible Scenarios

แขนจับจอแบบปรับได้อิสระเหมาะสำหรับคนที่ต้องการขยับจอไปมาบ่อยๆ ตามสถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะทำงาน ดูหนัง หรือแชร์หน้าจอให้คนอื่นดู แขนจับจอแบบนี้ให้ความอิสระในการเคลื่อนไหวสูงสุด

d. Multi-Monitor Arms

ถ้าคุณใช้จอภาพหลายจอพร้อมกัน คุณต้องใช้แขนจับจอแบบพิเศษ เพื่อประหยัดพื้นที่บนโต๊ะ และทำให้โต๊ะดูเป็นระเบียบเรียบร้อย แขนจับจอแบบนี้เหมาะมากสำหรับคนที่มีจอสองจอ หรือสามจอขึ้นไป ช่วยให้ใช้พื้นที่ทำงานได้อย่างคุ้มค่า

3. แขนจับจอภาพแบบกลไกกับแบบสปริงแก๊สแตกต่างกันอย่างไร?

แขนจับจอแบบสปริงกลไก กับ แขนจับจอแบบสปริงแก๊ส ทำงานคล้ายกันมาก คือมีตัวปรับแรงตึงช่วยให้ปรับแขนได้ละเอียด ตราบใดที่จอน้ำหนักไม่เกินที่แขนรับไหว ทั้งสองแบบก็ปรับจอได้ลื่นไหล และทนทานพอๆ กัน ในแง่การใช้งานและความทนทาน ทั้งสองแบบแทบไม่ต่างกันเลย ทั้งคู่ถูกออกแบบมาให้รองรับจอของคุณได้ดี ทำให้โต๊ะทำงานของคุณมีจอที่มั่นคงและปรับได้ดั่งใจคุณ

4. โต๊ะของคุณรองรับแขนจับจอภาพได้หรือไม่?

ก่อนจะติดแขนจับจอ สิ่งสำคัญคือต้องประเมินโต๊ะทำงานและผนังของคุณ  แขนจับส่วนใหญ่จะมีตัวหนีบกับตัวยึดรูมาให้ ซึ่งสามารถเลือกได้ตามเงื่อนไขต่อไปนี้:

a. Grommet or Clamp Installation with Cable Holes

หากโต๊ะของคุณมีพื้นที่อย่างน้อย 2 นิ้ว (5 ซม.) ระหว่างขอบด้านหลังกับผนัง และไม่มีโครงสร้างพิเศษใดๆ อยู่ใต้โต๊ะ การติดตั้งแบบหนีบเป็นวิธีที่ง่ายและแนะนำที่สุด วิธีนี้เหมาะกับโต๊ะที่มีความหนาอยู่ในช่วงที่แคลมป์รับได้ วิธีนี้ไม่ทำให้โต๊ะเป็นรอย และย้ายตำแหน่งได้ง่ายในภายหลัง ทำให้เหมาะกับการจัดโต๊ะทำงานให้ถูกหลักสรีรศาสตร์

b. Grommet or Clamp Installation with Cable Holes

ถ้าโต๊ะของคุณชิดกำแพง แต่มีรูร้อยสายไฟอยู่แล้ว (ปกติขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว (6.5 ซม.) หรือ 1.6-2 นิ้ว (4-5 ซม.) สำหรับเฟอร์นิเจอร์สั่งทำพิเศษ) คุณสามารถร้อยสายไฟผ่านรูพวกนั้นก่อนติดตั้งแขนจับจอได้ ขึ้นอยู่กับขนาดรู ทั้งการติดตั้งแบบหนีบและแบบร้อยรูอาจจะใช้ได้พอดี

c. Through-Desk Installation

หากโต๊ะของคุณชิดกับผนังโดยไม่มีรูร้อยสาย หรือหากมีโครงสร้างกีดขวางอยู่ใต้โต๊ะ คุณอาจต้องเจาะรูสำหรับการติดตั้งแบบร้อยสาย การติดตั้งประเภทนี้ถาวรกว่า ดังนั้นให้แน่ใจว่าตำแหน่งตรงตามความต้องการของคุณ หลีกเลี่ยงการเจาะวัสดุที่เปราะบาง เช่น แก้วหรือหิน เพื่อป้องกันความเสียหายที่ไม่สามารถแก้ไขได้

Tip: ถ้าอยากได้คำแนะนำเพิ่มเติม สามารถดูคู่มือการติดตั้งแขนจับจอแบบเจาะโต๊ะของ Ergotron ลองหาแผ่นเหล็กมาเสริมแรงกดของแคลมป์ แผ่นเหล่านี้มักจะขายแยกและอาจจะราคาแพง หรือเลือกแขนจับจอที่มีแผ่นป้องกันในตัวเพื่อความสะดวกยิ่งขึ้น

d. Standing Mount

ถ้าจอของคุณปรับความสูงได้ไม่เพียงพอ และใช้แบบหนีบโต๊ะหรือเจาะโต๊ะไม่ได้ ขาตั้งจอแบบตั้งพื้นก็เป็นทางเลือกสุดท้าย ขาตั้งแบบนี้มีฐานวางบนโต๊ะได้เลย ไม่ต้องเจาะโต๊ะหรือติดกำแพง แต่ข้อเสียคือมันจะกินที่บนโต๊ะเยอะขึ้น

e. Wall Mount

หากคุณไม่อยากเจาะโต๊ะ หรือหากคุณรำคาญกับการสั่นคลอนที่เกิดจากการสั่นสะเทือนจากการพิมพ์ แขนจับจอภาพแบบติดผนังจะยึดแขนเข้ากับผนังโดยตรง ซึ่งให้ความมั่นคงสูงสุด ประหยัดพื้นที่บนโต๊ะ และให้ความยืดหยุ่นมากขึ้น ข้อเสียคือต้องเจาะผนัง

5. ข้อควรระวังในการติดตั้งบนโต๊ะ

ก่อนที่จะซื้อแขนจับจอภาพ ควรตรวจสอบโต๊ะทำงานของคุณอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าการติดตั้งนั้นปลอดภัยมั่นคงและไม่ก่อให้เกิดปัญหาเหล่านี้:

a. Edge Shape

ขอบโต๊ะที่เอียงหรือโค้งมนเกิน 1 นิ้ว (2.5 ซม.) ตัวหนีบแขนจับจออาจจะหนีบไม่แน่น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าขอบโต๊ะของคุณแบนราบและอยู่ในขนาดที่แขนจับจอรองรับ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

b. Under-Desk Structures

สิ่งกีดขวาง เช่น คานรองรับที่อยู่ใกล้ขอบโต๊ะ อาจต้องใช้แขนจับแบบหนีบที่ยาวขึ้น หรือการติดตั้งแบบเจาะทะลุโต๊ะ เพื่อปรับปรุงความมั่นคงในการหนีบ คุณสามารถใช้แผ่นไม้ที่มีความสูงเท่ากันหรือมากกว่า เพื่อสร้างพื้นผิวการหนีบที่มั่นคง

Example: โครงสร้างใต้โต๊ะที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ การติดตั้งแบบหนีบอาจไม่เหมาะสม ทำให้ต้องใช้วิธีการติดตั้งแบบอื่นแทน

c. Tabletop Material

โต๊ะบางชนิดไม่รองรับแขนจับจอ ซึ่งเสี่ยงต่อความเสียหาย

  • ท็อปโต๊ะกระจก
  • โต๊ะที่ข้างในกลวงๆ (เช่น โต๊ะกระดาษรังผึ้ง)
  • โต๊ะที่บุบง่าย

ถ้ากลัวโต๊ะพัง แนะนำให้คุณติดตั้งแผ่นเสริมแรงเพื่อกระจายแรงกดของตัวหนีบ แผ่นเหล่านี้มักจะขายแยก แต่แขนจับจอภาพบางรุ่นมาพร้อมกับแผ่นเสริมแรงในตัวเพื่อความสะดวกยิ่งขึ้น ทำให้มั่นใจได้ว่าโต๊ะทำงานจะไม่เสียหาย

6. ข้อควรระวังในการติดตั้ง VESA

VESA เป็นมาตรฐานสากลสำหรับการติดตั้ง ซึ่งกำหนดโดยสมาคม VESA หน้าจอและทีวีส่วนใหญ่จะมีรูสกรูสี่รูเรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสตรงกลางแผงด้านหลัง BenQ BSH01 รองรับการกำหนดค่า VESA ซึ่งใช้ได้กับขนาดรูน็อตยอดนิยมคือ 100x100 มม. และ 75x75 มม.

อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นที่ต้องระวัง:

 

หน้าจอขนาดใหญ่และเล็ก: ทีวีขนาดใหญ่อาจต้องใช้ตัวยึด VESA ขนาด 200x200 มม. ในขณะที่หน้าจอเก่าหรือจอเล็กบางรุ่นใช้รูปแบบ VESA ขนาด 50x50 มม. สำหรับการติดตั้งขนาด 200x200 มม. อาจต้องซื้อแผ่นอะแดปเตอร์เพิ่ม ซึ่งโดยปกติจะขายแยกต่างหาก

 

Apple iMac/ Displays: เฉพาะรุ่นที่รองรับ VESA เท่านั้นที่สามารถติดตั้งได้ รุ่นที่มีขาตั้งในตัวไม่สามารถแปลงได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบความเข้ากันได้ก่อนซื้อแขนจับจอภาพ

 

จอภาพสำหรับเล่นเกม: จอภาพอย่าง Samsung G9, Acer Predator, และ ASUS ROG มักมีการออกแบบการติดตั้ง VESA ที่เป็นเอกลักษณ์ โดยทั่วไปจะต้องใช้อะแดปเตอร์แบบพิเศษ ซึ่งอาจมาพร้อมกับจอภาพหรือต้องซ้อแยกต่างหาก โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าแผ่นอะแดปเตอร์พอดีกับทั้งหน้าจอและแขนจับจอภาพ เพื่อการติดตั้งที่มั่นคง

7. น้ำหนักจอภาพที่เหมาะสม

วิธีพิจารณาว่าจะเลือกแขนจับจอภาพที่เหมาะสมอย่างไร สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบความสามารถในการรับน้ำหนักและเปรียบเทียบกับน้ำหนักของจอภาพของคุณ (ไม่รวมขาตั้ง) คุณสามารถหาข้อมูลนี้ได้จากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจอภาพ โปรดคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้:

a. จอโค้ง

จอโค้งมักจะทำให้จุดศูนย์ถ่วงเลื่อนไปข้างหน้า ทำให้ด้านหน้ามีน้ำหนักมากขึ้น เวลาเลือกแขนจับจอเลยต้องเผื่อน้ำหนักเพิ่มไปอีก 2-3 กิโล เพื่อให้มั่นคง

b. อุปกรณ์เสริมต่างๆ

อุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ไฟติดจอ (ประมาณ 500 กรัม), เว็บแคม (ประมาณ 300 กรัม) หรือไฟเสริม (ประมาณ 500 กรัม) จะเพิ่มน้ำหนักรวมทั้งหมด อย่าลืมคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้เมื่อเลือกแขนจับจอภาพที่เหมาะสม

c. ระวังน้ำหนักที่ไม่เหมาะสม

แขนจับจอภาพแบบสปริงทำงานได้ไม่ดีเมื่อน้ำหนักเบาหรือหนักเกินไป จะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นควรเผื่อน้ำหนักไว้ 1-2 กิโล ทั้งส่วนน้ำหนักน้อยสุดและมากสุด

หาแขนจับจอที่ใช่

 

จอภาพมาตรฐานส่วนใหญ่มีน้ำหนักระหว่าง 8.8–22 ปอนด์ (4–10 กิโลกรัม) (ยกเว้นจอภาพแบบอัลตร้าไวด์ เช่น Samsung G9) เมื่อเผื่อน้ำหนักอุปกรณ์เสริมและเผื่อความปลอดภัยแล้ว แขนจับจอภาพอเนกประสงค์ที่มีความสามารถในการรับน้ำหนัก 28.6–33 ปอนด์ (13–15 กิโลกรัม) มักเป็นตัวเลือกที่หลากหลายที่สุด


แขนจับจอภาพที่มีความสามารถในการรับน้ำหนักสูงสุด 19.8 ปอนด์ (9 กิโลกรัม) อาจจะรับน้ำหนักไม่ไหว ทำให้เกิดปัญหาด้านประสิทธิภาพและไม่มั่นคง

 BenQ BSH01 ได้คำนึงถึงน้ำหนักรวมของจอภาพและอุปกรณ์เสริมต่างๆ คุณจึงสามารถซื้อได้อย่างมั่นใจ



ข้อควรระวัง




แขนจับจอที่ออกแบบมาเพื่อรองรับจอภาพที่น้ำหนักมาก มักจะออกแรงดันขึ้นข้างบน ถ้านำมาใช้กับจอเบาๆ จะทำให้ปรับยาก เว้นแต่คุณจะใช้จอภาพที่หนักมาก เช่น Samsung G9 (49 นิ้ว) หลีกเลี่ยงการเลือกแขนจับจอภาพที่มีสเปคสูงเกินไปเพราะอาจส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและประสิทธิภาพการใช้งานไม่ดีเท่าที่ควร

8. สิ่งที่ต้องพิจารณาในเรื่องของการปรับ

เวลาเลือกแขนจับจอภาพ ต้องดูว่ามันปรับได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้แน่ใจว่าเหมาะกับโต๊ะทำงานของเราไหม นี่คือเรื่องสำคัญที่ต้องดู:

a. ระยะที่ยืดไปข้างหน้า

ตรวจสอบว่าแขนจับจอสามารถยื่นไปข้างหน้าได้ไกลพอหรือไม่ โดยทั่วไปโต๊ะทำงานจะมีความลึก 20-30 นิ้ว (50-76 ซม.) ดังนั้นให้ตรวจสอบระยะยื่นไปข้างหน้าของแขนจับจอในสเปคหรือรูปภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แน่ใจว่ายืดได้พอดีกับโต๊ะเราไหม

b. ปรับระดับความสูงต่ำ

แขนจับจอสามารถจัดตำแหน่งจอภาพของคุณให้อยู่ในความสูงที่ต้องการได้หรือไม่? ตามข้อมูลจาก Ergotron’s Workspace Planner ความสูงที่เหมาะสมตามหลักสรีรศาสตร์สามารถคำนวณได้โดยเอาความสูงครึ่งหนึ่งของจอ มาบวกกับความสูงที่แขนจับจอปรับได้มากที่สุด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแขนจับจอที่คุณเลือกปรับได้ตามที่เราต้องการไหม โดยเฉพาะคนที่จัดโต๊ะทำงานตามหลักสรีรศาสตร์

c. มุมที่ปรับจอได้

แขนจับจอภาพส่วนใหญ่จะบอกว่าปรับมุมต่างๆ ได้เท่าไหร่บ้าง เช่น:

  • เอียง: ปรับจอเงยขึ้นหรือก้มลง
  • หมุน: เลื่อนจอไปซ้ายหรือขวา ±90°
  • พลิกจอ: หมุนจอเป็นแนวตั้ง ±180°.

โดยส่วนใหญ่มุมการหมุนและการพลิกของแขนจับจอภาพจะคล้ายกัน แต่การเอียงจะแตกต่างกันอย่างมาก สำหรับผู้ใช้ที่มีความต้องการพิเศษ เช่น การใช้แท็บเล็ตวาดรูป ให้มองหาแขนจับจอภาพที่สามารถเอียงขึ้นด้านบนได้ลึกในระดับความสูงต่ำสุด

d. แขนจับจอแบบไหนเหมาะกับโต๊ะตัว L

ถ้าจะติดแขนจับจอตรงมุมโต๊ะตัว L ต้องดูให้ดีว่าแขนจับมันยาวพอที่จะวางจอตรงที่เราต้องการได้ไหม แขนจับสั้นๆ อาจไม่ยาวพอ ผลิตภัณฑ์อย่าง Ergotron LX มีความยาวแขนจับที่ยาวกว่า ทำให้เหมาะกับโต๊ะแบบนี้มากกว่า

e. ป้องกันไม่ให้ชนกำแพง

ถ้าโต๊ะคุณชิดกำแพง ให้หาแขนจับจอที่มีตัวล็อคไม่ให้มันหมุนไปชนกำแพง ตัวล็อคนี้จะกันไม่ให้แขนหมุนเกิน 180° และให้อยู่ในพื้นที่โต๊ะ แต่บางรุ่นมันล็อคตายตัว ปรับได้แค่หมุนไปข้างหน้าอย่างเดียวซึ่งเปลี่ยนกลับมาหมุน 360° ไม่ได้ หากคุณคิดว่าอนาคตจะเปลี่ยนที่จัดโต๊ะ ให้เลือกแขนจับจอที่ปรับตัวล็อคได้ดีกว่า

9. การป้องกันแขนจับจอไม่แน่น

ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดหลังจากซื้อแขนจับจอมาคือ "การหย่อน" ปัญหานี้มักเกิดขึ้นในสองส่วนหลัก:

ข้อต่อเอียง: ถ้าข้อต่อเอียงหรือไม่แน่นพอ อาจทำให้จอภาพเอนไปข้างหน้า

ข้อต่อตรงแขนท่อนบน: ถ้าตรงนี้ไม่แน่นพอ แขนจับจอทั้งอันจะห้อยลง

วิธีทำให้แขนจับจอไม่หย่อน

ในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ขั้นแรกให้ปรับสกรูปรับความตึงของแขนจับจอภาพที่ข้อต่อให้แน่นขึ้น บางรุ่นจำเป็นต้องหมุนประแจหกเหลี่ยมหลายสิบครั้งเพื่อปรับความตึงอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงการขันแน่นเกินไป เพราะอาจทำให้สกรูหรือส่วนประกอบโลหะเสียหายได้  ถ้าปรับแล้วยังหย่อนอยู่ อาจเป็นเพราะจอหนักเกิน หรือมีของอย่างอื่นติดเพิ่ม เช่น กล้อง หรือไฟ ลองพิจารณาว่าแขนจับจอที่ใช้อยู่สามารถรับน้ำหนักจอของเราไหวรึเปล่า

เลือกแขนจับจอคุณภาพดี

แขนจับจอภาพราคาถูกมักใช้ข้อต่อเอียงแบบเสียดทานธรรมดา ซึ่งใช้ไปนานๆ ก็จะหลวม ลองพิจารณาลงทุนซื้อที่มีข้อต่อเอียงแบบสปริง ซึ่งออกแบบมาเพื่อความทนทานที่เพิ่มขึ้น การออกแบบเหล่านี้ต้านแรงโน้มถ่วงได้ดี ทำให้ใช้ได้นานและปรับง่ายกว่า

ข้อควรระวังสำหรับแขนจับจอแบบรับน้ำหนักมาก

แขนจับจอที่รับน้ำหนักเยอะๆ จะมีปัญหาห้อยมากกว่าแขนจับจอทั่วไป หลายรุ่นที่บอกว่ารับจออย่าง Samsung G9 ได้ มันทำได้ก็จริง แต่ต้องขันข้อต่อให้แน่นจนขยับไม่ได้เลย ทำให้ยากต่อการปรับก้มเงยจอ สิ่งนี้มักนำไปสู่ความไม่พอใจของลูกค้า ก่อนซื้อ ให้ตรวจสอบรีวิวของผู้ใช้เพื่อให้แน่ใจว่าแขนจับจอภาพตรงตามความต้องการของคุณ

10. วิธีจัดการสายไฟให้เป็นระเบียบ

การจัดการสายเคเบิลที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญเมื่อใช้แขนจับจอภาพ เพราะแขนมันยกจอขึ้นลง หมุนไปมาได้ สายไฟต้องยาวพอที่จะขยับตามจอได้โดยไม่ตึงหรือทำให้หัวต่อสายพัง นี่คือสิ่งที่คุณควรคำนึงถึง:

ความยาวสายไฟ

  • สำหรับแขนจับจอภาพที่ต้องขยับบ่อยๆ: ควรใช้สายเคเบิลที่ยาวกว่าเพื่อให้แน่ใจว่ามีความยืดหยุ่นในระหว่างการปรับตำปหน่งและมุมบ่อยๆ โดนเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับจอภาพแบบอัลตร้าไวด์หรือใช้จอคู่
  • สำหรับแขนจับจอภาพที่ไม่ต้องขยับบ่อยๆ: สายเคเบิลที่สั้นกว่าสามารถลดความรกและรักษาการจัดโต๊ะทำงานแบบเรียบง่าย ทำให้โต๊ะทำงานของคุณเป็นระเบียบมากขึ้น

 



ระบบจัดการสายเคเบิล

โต๊ะทำงานสมัยใหม่มักเผชิญกับสายเคเบิลที่รกรุงรังจากอุปกรณ์จำนวนมาก แขนจับจอภาพที่มีระบบจัดการสายเคเบิลในตัวสามารถจัดระเบียบและซ่อนสายเคเบิลได้อย่างดี ไม่ทำให้โต๊ะทำงานไม่รกรุงรัง แขนจับจอภาพส่วนใหญ่สามารถจัดการสายเคเบิลได้ 3-4 เส้น ทำให้เหมาะกับคนใช้จอหลายจอ เล่นเกม หรือทำงานที่บ้าน

 




คำแนะนำจากเรา

เราได้รวบรวมคำถามเกี่ยวกับการเลือกแขนจับจอภาพ ทั้งเรื่องปรับจอได้แค่ไหน น้ำหนักเท่าไหร่ ติดตั้งยังไง หากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกแขนจับจอภาพรุ่นใด BenQ BSH01 เป็นตัวเลือกที่ดีและครบเครื่อง:


  • รองรับจอภาพขนาด 45 นิ้ว โดยมีน้ำหนักรับได้ 44 ปอนด์ (20 กิโลกรัม) ทำให้เหมาะสำหรับการติดตั้งแบบรับน้ำหนักมาก
  • การใช้ข้อต่อสปริงจะกับจอหย่อนได้ดี แม้คุณจะติดเว็บแคมหรือไฟติดจอ
  • การใช้แผ่นเหล็กเสริมแรงจะช่วยปกป้งอผิวโต๊ะที่บอบบาง เช่น โต๊ะกระจก หรือ ท็อปโต๊ะแบบกลวง

BSH01

 



 

หากคุณมีคำถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อเราเพื่อแนะนำการติดตั้งแขนจับจอ หรือเลือกแขนจับจอที่ใช่สำหรับคุณ

 

  • Recommended Products
  • ลบทั้งหมด
    • {{item}}

    ลบทั้งหมด

{{item.title}}

{{items.tagName}}

Recommended Products
  • {{productsCount}}ผลลัพธ์
  • {{productsCount}}ผลลัพธ์
  • {{displaySortType}}

      {{item.displaySortType}}

{{title}}

We will notify you when we have more.

*
Required.
*
Required.
*
Required. Invalid email format.
Required.

We will send you an email once the product become available.Your email will not be shared with anyone else.

Sorry, our store is currently down for maintenance.We should be back shortly. Thank you for your patience!

close-button

บทความนี้เป็นประโยชน์กับท่านหรือไม่?

ใช่ ไม่

ติดตามบทความของเรา

คอยติดตามการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของเรา ข่าวที่จะเกิดขึ้น และสิทธิประโยชน์พิเศษอีกมากมาย

ติดตาม
TOP